วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะยุคเมโสโปเตเมีย


ศิลปะยุคเมโสโปเตเมียแบ่งได้ย่อยๆเป็นวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมชูเมอร์และบาบีโลน, วัฒนธรรมอัสซีเรีย,วัฒนธรรมเปอร์เซีย

ศิลปะเมโสโปเตเมียเป็นศิลปะที่เกิดบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส มีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่เป็นรากของตัวอักษรแบบอารบิค คือ อักษรคูนิฟอร์ม หรือ อักษรรูปลิ่ม ( V), แต่เพราะความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้หลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีน้อยและถูกทำลายไปมาก

สถาปัตยกรรมของชาวเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นจากรากฐานของความเชื่อ โดยเฉพาะความเชื่อในเทพเจ้า จึงมีการคำนวนหาที่ตั้งของสถาปัตยกรรมให้มีความศักดิ์สิทธ์คล้องกันกับความเชื่อในเทพ เช่น วิหาร นิยมตั้งบนเนินหรือบนภูเขาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของเทพ แต่ความเชื่อเช่นนี้ไม่ซับซ้อนเหมือนอียิปต์ และโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมก็ไม่ซับซ้อน เช่น วิหารซิกผมรัต ที่ประเทศอิรัก การสร้างฐานของตัววิหาร ใช้หลักทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นอิฐเผาสีแดง ส่วนเสาใช้ระบบเสาขนาดใหญ่รับกับคานหลังคาไม้ ผนังหนาและแบ่งประโยชน์การใช้สอยของห้องซับซ้อน ส่วนใหญ่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ลักษณะการใช้เสานั้นค่อนข้างจะโดดเด่น เพราะส่งอิทธิพลถึงสถาปัตยกรรมของอียิปต์และเกาะครีตด้วย นั่นคือ การใช้เสาแกะเป็นลายและตรงช่วงหัวเสาทำเป็นรูปทรงต่างๆ

ลักษณะเทพของชาวเมโสโปเตเมียมีลักษณะอิงกับธรรมชาติ มีเทพแห่งท้องน้ำ เทพแห่งท้องฟ้า เทพแห่งพายุ เทพแห่งพระแม่หรือเทพแห่งความสมบูรณ์และสงคราม(มักแทนด้วยภาพวัว) แม้ความเชื่อเรื่องเทพที่มีลักษณะอิงกับธรรมชาติจะส่งอิทธิพลถึงอารยธรรมอียิปต์ แต่จะเห็นว่า ความเชื่อในเรื่องเทพของอียิปต์นั้นจะซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่อง “ชีวิตหลังความตาย”

ศิลปะของชาวเมโสโปเตเมีย ส่งอิทธิพลไปยังเกาะครีตด้วย โดยเฉพาะการคิดค้นลวดลายตกแต่งวิหาร แม่ลายธรรมชาติมีให้เห็นกันมากกว่าลายเรขาคณิต(ที่อียิปต์นิยม) เช่น ลายดอกบัว ลายต้นปาล์ม ลายดอกจันทน์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น