วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะโรมันโบราณ


ศิลปะโรมัน (พ.ศ. 340 - พ.ศ. 870) แบบอย่างศิลปะโรมันปรากฏลักษณะชัดเจนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อกรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ในปี พ.ศ. 870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน

จิตรกรรมโรมัน อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี สตาบิเอ และ เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูกขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน จิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยผืนผ้า ซึ่งมักเลียนแบบหินอ่อน เป็นภาพทิวทัศน์ ภาพคน และภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม มีการใช้แสงเงา และกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีภาพประดับด้วยเศษหินสี (Mosaic) ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร

ประติมากรรมโรมันรับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็งมาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรมโรมันในยุคหลังๆ เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษ วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด

สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้ สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไปสู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้งกากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาวโรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไรนัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อนๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะเป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่างๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัดสถาปัตยกรรมโรมันในช่วง พ.ศ. 600 - 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ อำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตกแต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถันมีการ สร้างลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ อาคารที่พักอาศัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน หินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม

ศิลปะยุคกรีก


ศิลปะยุคกรีก
ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์

จิตรกรรม รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้น ที่ ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจน ใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดินคือเอาสีดำ อมน้ำตาลผสมบาง ๆ ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว และสีอื่น ๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลัง เป็นสีแดงนี้ เรียกว่า "จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ" และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธ ศตวรรษที่ 1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมา คือ "จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง"โดยใช้สีดำอม น้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้น แจกัน





ประติมากรรม ส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจาก สำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิต อยู่ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ รูปทรงจะมีความเป็น มนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการ ขัดถูผิวหินให้เรียบ ดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ ประติมากรรมกรีก จัดเป็นยุคคลาสสิค ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาตินั่นเอง

สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้น ๆ ก็จะเป็นฝาผนัง โดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่าง ๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะ สร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะ ระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบ ๆ วิหารมีความสว่าง และมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสม ไม่ใหญ่โต จนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดใน สมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และแบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไป ในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัย ต่อมา เกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมี การตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูป คนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความ นิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับ ประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน




ศิลปะยุคเมโสโปเตเมีย


ศิลปะยุคเมโสโปเตเมียแบ่งได้ย่อยๆเป็นวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมชูเมอร์และบาบีโลน, วัฒนธรรมอัสซีเรีย,วัฒนธรรมเปอร์เซีย

ศิลปะเมโสโปเตเมียเป็นศิลปะที่เกิดบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส มีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่เป็นรากของตัวอักษรแบบอารบิค คือ อักษรคูนิฟอร์ม หรือ อักษรรูปลิ่ม ( V), แต่เพราะความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้หลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีน้อยและถูกทำลายไปมาก

สถาปัตยกรรมของชาวเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นจากรากฐานของความเชื่อ โดยเฉพาะความเชื่อในเทพเจ้า จึงมีการคำนวนหาที่ตั้งของสถาปัตยกรรมให้มีความศักดิ์สิทธ์คล้องกันกับความเชื่อในเทพ เช่น วิหาร นิยมตั้งบนเนินหรือบนภูเขาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของเทพ แต่ความเชื่อเช่นนี้ไม่ซับซ้อนเหมือนอียิปต์ และโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมก็ไม่ซับซ้อน เช่น วิหารซิกผมรัต ที่ประเทศอิรัก การสร้างฐานของตัววิหาร ใช้หลักทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นอิฐเผาสีแดง ส่วนเสาใช้ระบบเสาขนาดใหญ่รับกับคานหลังคาไม้ ผนังหนาและแบ่งประโยชน์การใช้สอยของห้องซับซ้อน ส่วนใหญ่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ลักษณะการใช้เสานั้นค่อนข้างจะโดดเด่น เพราะส่งอิทธิพลถึงสถาปัตยกรรมของอียิปต์และเกาะครีตด้วย นั่นคือ การใช้เสาแกะเป็นลายและตรงช่วงหัวเสาทำเป็นรูปทรงต่างๆ

ลักษณะเทพของชาวเมโสโปเตเมียมีลักษณะอิงกับธรรมชาติ มีเทพแห่งท้องน้ำ เทพแห่งท้องฟ้า เทพแห่งพายุ เทพแห่งพระแม่หรือเทพแห่งความสมบูรณ์และสงคราม(มักแทนด้วยภาพวัว) แม้ความเชื่อเรื่องเทพที่มีลักษณะอิงกับธรรมชาติจะส่งอิทธิพลถึงอารยธรรมอียิปต์ แต่จะเห็นว่า ความเชื่อในเรื่องเทพของอียิปต์นั้นจะซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่อง “ชีวิตหลังความตาย”

ศิลปะของชาวเมโสโปเตเมีย ส่งอิทธิพลไปยังเกาะครีตด้วย โดยเฉพาะการคิดค้นลวดลายตกแต่งวิหาร แม่ลายธรรมชาติมีให้เห็นกันมากกว่าลายเรขาคณิต(ที่อียิปต์นิยม) เช่น ลายดอกบัว ลายต้นปาล์ม ลายดอกจันทน์ เป็นต้น

ศิลปะยุคอียิปต์






ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้

งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว

งานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังการมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ

ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์




งานศิลปะได้เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลาย ช่วงเวลาประมาณ 10,000 - 30,000 ปีมาแล้ว



โดยเฉพาะ 10,000 - 15,000 มนุษย์ได้เขียนภาพสีและขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์



การล่าสัตว์ และภาพลวดลายเรขาคณิต โดยสื่อถึงวิถีในชีวิตประจำวันและความสามารถในการล่าสัตว์



ภาพเหล่านี้มักประกอบด้วยถ่านไม้และสีผสมไขมันสัตว์ พบได้ในประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงคือ



ถ้ำลาสโกซ์ในฝรั่งเศส และภาคเหนือของสเปน ที่มีชื่อเสียงคือ ถ้ำอัลตามิราในสเปน






งานศิลปะในยุคเก่าไม่ได้มีแต่การเขียนภาพเท่านั้น ยังมีรูปปั้นดินเหนียว หรือแกะสลักบนกระดูก





เขาสัตว์ งาช้าง ด้วยเรื่องราวที่นิยมทำกันได้แก่เรื่อง การล่าสัตว์ หรือบางก็มีรูปคน รูปสตรี






ซึ่งอาจ หมายถึง การให้กำเนิดเป็นการให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ชนเผ่า


วีนัสแห่งวินเลนดอร์ฟ พบที่วินเลนดอร์ฟที่ประเทศออสเตรเลีย อายุประมาณ ค.ศ.20000 - 25000 ปีก่อน