วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผลงานศิลปะของยุคบาโรก











ศิลปะบาโรก



ศิลปะบาโรก

บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม, จิตรกรรม, วรรณกรรม
ความรุ่งเรืองของศิลปะแบบบาโรกได้รับการส่งเสริมจากสถาบันสถาบันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสังคายนาเมืองเทรนต์ เมื่อปีค.ศ. 1545-1563 ประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันที่นั่นก็คือเรื่องความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและศาสนา ทางที่ประชุมตกลงกันว่าศิลปะควรจะสิ่งที่สื่อสารเรื่องศาสนาโดยใช้วิธีจูงใจและสะเทือนอารมณ์ผู้ดูโดยตรง ในขณะเดียวกันชนชั้นสูง (Aristocracy) สมัยนั้นก็เห็นว่าแบบบาโรกเป็นศิลปะที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ดู เป็นศิลปะที่แสดงความถึงความมีอำนาจของเจ้าของ
คำว่าบาโรกสันนิษฐานกันว่ามาจากคำว่า barroco ภาษาโปรตุเกสโบราณซึ่งหมายถึงหอยมุกที่มีรูปร่างอ่อนไหวม้วนไปมา แต่ที่มาในภาษาอังกฤษไม่ทราบแน่ว่ามาจากภาษาใดหรือจะมาจากแหล่งอื่น คำว่าบาโรกเองนอกจากจะหมายถึงศิลปะที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้วก็ยังหมายถึงความโอ่อ่าที่เต็มไปด้วยรายละเอียด บางครั้งคำนี้อาจจะพูดถึงศิลปะที่มีการตกแต่งจนค่อนข้างจะไปทางอลังการ

ศิลปะยุคฟื้นฟู(ศิลปะเรอเนสซองซ์ )




ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ ยุคเรอเนสซองซ์
เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่ระหว่างยุคกลาง (Middle Age) และยุคใหม่ หรือยุคโมเดิร์น (Modern Age) การเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเริ่มต้นในประเทศอิตาลี หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุกๆด้าน อาทิเช่น

1.ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซ่า ไมเคิล แองเจลโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอล ผู้กำกับการสร้างและตกแต่ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เป็นต้น
2.เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกส และ สเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น
3.วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง เป็นต้น
4.ตัวอย่างศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ในไทย เช่น พระราชวังพญาไท
ศิลปะเรอเนสซองซ์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอเนสซองซ์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรเนสซองซ์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มิเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในยุคยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ศิลปะยุคกอธิค




ศิลปะกอธิค
ศิลปะกอธิค (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอธิคนานาชาติ ศิลปะกอธิคนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์ ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร
ศิลปะยุคกอธิคเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยเรอเนซองส์ตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอธ แฟรงค์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซอน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ
จิตรกรรม
สมัยกอธิคมีพื้นที่เขียนภาพบนฝาผนังน้อยลง เพราะสถาปัตยกรรมมีช่องเปิดมาก ดังนั้นจึงมักเน้นไปที่การออกแบบกระจกสีบานหน้าต่าง สำหรับการเขียนภาพในหนังสือเขียน มักจะแสดงรูปคนที่สะโอดสะอง ในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่พลิ้ว และโค้งไหวอย่างอ่อนช้อย

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะโรมันโบราณ


ศิลปะโรมัน (พ.ศ. 340 - พ.ศ. 870) แบบอย่างศิลปะโรมันปรากฏลักษณะชัดเจนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อกรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ในปี พ.ศ. 870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน

จิตรกรรมโรมัน อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี สตาบิเอ และ เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูกขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน จิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยผืนผ้า ซึ่งมักเลียนแบบหินอ่อน เป็นภาพทิวทัศน์ ภาพคน และภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม มีการใช้แสงเงา และกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีภาพประดับด้วยเศษหินสี (Mosaic) ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร

ประติมากรรมโรมันรับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็งมาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรมโรมันในยุคหลังๆ เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษ วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด

สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้ สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไปสู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้งกากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาวโรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไรนัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อนๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะเป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่างๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัดสถาปัตยกรรมโรมันในช่วง พ.ศ. 600 - 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ อำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตกแต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถันมีการ สร้างลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ อาคารที่พักอาศัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน หินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม

ศิลปะยุคกรีก


ศิลปะยุคกรีก
ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์

จิตรกรรม รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้น ที่ ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจน ใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดินคือเอาสีดำ อมน้ำตาลผสมบาง ๆ ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว และสีอื่น ๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลัง เป็นสีแดงนี้ เรียกว่า "จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ" และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธ ศตวรรษที่ 1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมา คือ "จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง"โดยใช้สีดำอม น้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้น แจกัน





ประติมากรรม ส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจาก สำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิต อยู่ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ รูปทรงจะมีความเป็น มนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการ ขัดถูผิวหินให้เรียบ ดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ ประติมากรรมกรีก จัดเป็นยุคคลาสสิค ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาตินั่นเอง

สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้น ๆ ก็จะเป็นฝาผนัง โดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่าง ๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะ สร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะ ระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบ ๆ วิหารมีความสว่าง และมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสม ไม่ใหญ่โต จนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดใน สมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และแบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไป ในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัย ต่อมา เกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมี การตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูป คนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความ นิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับ ประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน




ศิลปะยุคเมโสโปเตเมีย


ศิลปะยุคเมโสโปเตเมียแบ่งได้ย่อยๆเป็นวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมชูเมอร์และบาบีโลน, วัฒนธรรมอัสซีเรีย,วัฒนธรรมเปอร์เซีย

ศิลปะเมโสโปเตเมียเป็นศิลปะที่เกิดบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส มีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่เป็นรากของตัวอักษรแบบอารบิค คือ อักษรคูนิฟอร์ม หรือ อักษรรูปลิ่ม ( V), แต่เพราะความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้หลักฐานและข้อมูลต่างๆ มีน้อยและถูกทำลายไปมาก

สถาปัตยกรรมของชาวเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นจากรากฐานของความเชื่อ โดยเฉพาะความเชื่อในเทพเจ้า จึงมีการคำนวนหาที่ตั้งของสถาปัตยกรรมให้มีความศักดิ์สิทธ์คล้องกันกับความเชื่อในเทพ เช่น วิหาร นิยมตั้งบนเนินหรือบนภูเขาเพื่อให้เป็นที่อยู่ของเทพ แต่ความเชื่อเช่นนี้ไม่ซับซ้อนเหมือนอียิปต์ และโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมก็ไม่ซับซ้อน เช่น วิหารซิกผมรัต ที่ประเทศอิรัก การสร้างฐานของตัววิหาร ใช้หลักทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นอิฐเผาสีแดง ส่วนเสาใช้ระบบเสาขนาดใหญ่รับกับคานหลังคาไม้ ผนังหนาและแบ่งประโยชน์การใช้สอยของห้องซับซ้อน ส่วนใหญ่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ลักษณะการใช้เสานั้นค่อนข้างจะโดดเด่น เพราะส่งอิทธิพลถึงสถาปัตยกรรมของอียิปต์และเกาะครีตด้วย นั่นคือ การใช้เสาแกะเป็นลายและตรงช่วงหัวเสาทำเป็นรูปทรงต่างๆ

ลักษณะเทพของชาวเมโสโปเตเมียมีลักษณะอิงกับธรรมชาติ มีเทพแห่งท้องน้ำ เทพแห่งท้องฟ้า เทพแห่งพายุ เทพแห่งพระแม่หรือเทพแห่งความสมบูรณ์และสงคราม(มักแทนด้วยภาพวัว) แม้ความเชื่อเรื่องเทพที่มีลักษณะอิงกับธรรมชาติจะส่งอิทธิพลถึงอารยธรรมอียิปต์ แต่จะเห็นว่า ความเชื่อในเรื่องเทพของอียิปต์นั้นจะซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่อง “ชีวิตหลังความตาย”

ศิลปะของชาวเมโสโปเตเมีย ส่งอิทธิพลไปยังเกาะครีตด้วย โดยเฉพาะการคิดค้นลวดลายตกแต่งวิหาร แม่ลายธรรมชาติมีให้เห็นกันมากกว่าลายเรขาคณิต(ที่อียิปต์นิยม) เช่น ลายดอกบัว ลายต้นปาล์ม ลายดอกจันทน์ เป็นต้น